6 เรื่องที่ต้องคิดทบทวน หลังหมด COVIID-19

05 Apr 2024 | เมื่อ 04:15 น.

 

สถานการณ์โรคโควิด COVID-19 ระบาด ถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบหนักต่อผู้คนทุกระดับชั้นและระดับประเทศ ตั้งแต่การงาน, การเงิน, วิถีชีวิต รวมไปถึงเศรษฐกิจ ทำให้เห็นถึงการปรับตัวของประชาชนและธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าหากหมดช่วงโควิดนี้ไปแล้ว มีหลายสิ่งที่ควรคิดทบทวน วางแผนใหม่ เพื่อให้เข้ากับโลกยุคหลังโควิด

 

1. เงิน: เพราะเงินฉุกเฉินคือ เงิน ที่เก็บสำรองเอาไว้ใช้จ่ายในยามที่เกิดเหตุฉุกเฉิน อย่างไวรัสโควิดระบาดนี้ จะเห็นได้ชัดเลยว่าใครที่วางแผนการเงินที่ดี มีเงินฉุกเฉิน, เงินเก็บ จะลำบากน้อยสุด เพราะมีเงินสำหรับใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน ไม่ต้องรบกวนเอาเงินเก็บส่วนอื่นๆออกมาใช้ ดังนั้น เงินฉุกเฉิน ควรเป็นแผนการออมเงินเพื่ออนาคตก้อนแรกที่ควรเก็บให้ได้ก่อนเก็บเงินเพื่อสิ่งอื่นๆ เพราะเหตุการณ์ฉุกเฉินบางอย่างก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว

 

2. สุขภาพ: ร่างกายคนเราก็เหมือนกับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีวันชำรุดหรือพังได้ การซ่อมแซ่มสุขภาพอาจยุ่งยาก,ซับซ้อนกว่ามาก การหันมาใส่ใจเรื่องการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่ดี จะเป็นสิ่งอันดับต้นๆที่ผู้คนจะหันมาเอาใจใส่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น แน่นอนยังรวมไปถึงการมองหาหลักประกันสุขภาพที่ครอบคุ้มถึงค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย ดังนั้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนจะเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ ที่จะหันมาดูแลเอาใจใส่มากขึ้น รวมไปถึงการเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลให้เพียงพอและหาหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสม

 

3. การงาน: ในสถานการณ์โควิดระบาดสิ่งที่มีผลกระทบและเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดคือ งาน เพราะในช่วงที่ธุรกิจหลายอย่างหยุดชะงัด หลายๆบริษัทจึงปรับระบบการทำงานเป็น Work From Home และปรับลดพนักงานบางส่วนลงเพื่อรักษาค่าใช้จ่ายบริษัท ซึ่งนั่นก็ทำให้มีคนถูกเลิกจ้าง ตกงานกระทันหัน ทำให้ขาดรายได้ประจำที่เคยได้ ซึ่งหากใครมีเงินเก็บสำรองไว้ก็อาจจะไม่ลำบากมากเท่าไหร่ ยังพอมีเงินใช้จ่ายในช่วงตกงานและรอหางานใหม่ไปได้ ดังนั้น การงานที่มั่นคง ก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดทบทวนว่างานที่ทำอยู่นั้นมั่นคงพอที่จะทำไปได้นานแค่ไหน และวางแผนที่จะเกษียณเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะทำให้มีการงานที่มั่นคง คือการที่มีศักยภาพในหน้าที่นั้นๆอย่างประสิทธิภาพ ดังนั้นควรหมั่นพัฒนาทักษะอยู่เสมอ เพื่อโอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพการงาน

 

4. หนี้สิน: ปัญหาหนี้สินคือปัญหาหนัก ที่ควรคิดทบทวนเป็นอันดับต้นๆ ควรมีการบริหารหนี้สินให้เหมาะสม จัดการปรับสัดส่วนจำนวนหนี้สินให้น้อยลง เพราะอย่างสถานการณ์โควิดระบาดนี้ จะเห็นได้ว่าหนี้สินยังคงต้องจ่ายเหมือนเดิม แต่รายรับกลับไม่มี ดังนั้น ควรวางแผนปรับหนี้สินให้ลดน้อยลง และไม่ควรสร้างหนี้เพิ่ม ควรบันทึกรายรับ-รายจ่ายแบบจริงจัง เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บออม

 

5. สุขภาพจิต: เชื่อว่าในช่วงที่เกิดโรคโควิดระบาด สิ่งหนึ่งที่ผู้คนประสบปัญหาหนักไม่แพ้กันคือ สุขภาพจิต ที่อาจจะเกิดความเครียดจากเรื่องต่างๆ ทั้งกลัวติดโรค,เงินไม่มีใช้,ตกงานกะทันหัน,เศรษฐกิจย่ำแย่ หรือแม้แต่รูปแบบการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไป ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องทบทวนคือการปรับระบบความคิดใหม่ มองทุกอย่างคือสิ่งใหม่ที่ต้องเรียนรู้ ดังนั้น นอกจากการปรับระบบความคิดแล้ว การดูแลสุขภาพจิตก็สำคัญ ควรผ่อนคลาย หาสิ่งที่สร้างความสุขให้กับตัวเอง ไม่ปล่อยให้เครียดจนเกินไป

 

6. หลักประกันที่มั่นคง: การมีหลักประกันที่มั่นคงก็เป็นตัวช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤตที่ย่ำแย่ไปได้ โดยหลักประกันที่ว่าต้องมั่นคงต่อชีวิตในระยะยาว ซึ่งก็มีทั้ง การออมเงิน, การลงทุน, ประกันชีวิตต่างๆ, อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ หรือแม้แต่ ทองคำ ที่เปรียบเสมือนเป็นสินทรัพย์ที่ช่วยพยุงสถานการณ์ย่ำแย่ของสินทรัพย์อื่นๆได้ดี ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วงโควิดระบาดนี้ คนจะเอาทองคำออกมาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด เพื่อให้มีเงินใช้จ่าย

 

ดังนั้น ควรสร้างหลักประกันหลายๆอย่าง เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงที่หากตัวหนึ่งล้มก็มีตัวหนึ่งค้ำให้อยู่ได้ ควรวางแผนสร้างหลักประกันไว้แต่เนิ่นๆ

 

การมาของโรคโควิดนี้ ทำให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงบริบทสังคมที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้เกิด New Normal วิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่ขึ้น และยังรวมไปถึงการมองเห็นถึงความสำคัญของ การวางแผนชีวิต, การวางแผนการเงิน ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค ยังเป็นเรื่องที่หลายๆคนมักมองข้าม และเมินที่จะใส่ใจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดทบทวนอีกอย่างคือ ตัวเราเอง มีหลักประกันมั่นคงอะไรหรือไม่และมีแผนชีวิตในอนาคตอย่างไร